ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
Annual ascending to tufted herb.
-
หญ้าฤดูเดียว สูงได้ถึง 1.5 ม. ข้อมีขน ใบรูปแถบ ยาว 5–30 ซม. โคนมน ลิ้นกาบขอบมีขนครุย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 5–20 ซม. ช่อดอกย่อยออกเดี่ยว ๆ สีชมพูอมแดงหรือม่วง รูปไข่ ยาว 0.2–1.2 ซม. โป่งด้านเดียว มีขนยาวหนาแน่น ขนยาวได้ถึง 6 มม. ก้านยาว 1–3.5 มม. กาบช่อดอกย่อยบาง ขอบมีขนครุย กาบล่างรูปขอบขนานขนาดเล็ก เส้นกาบ 1 เส้น กาบบนรูปไข่ โป่งด้านเดียว ยาวเท่า ๆ ช่อดอกย่อย ปลายมีติ่งหนามหรือแยก 2 แฉก มีรยางค์สั้น ๆ เส้นกาบ 5 เส้น ดอกย่อยดอกล่างเพศผู้ กาบล่างคล้ายกาบช่อดอกย่อย แคบกว่าเล็กน้อย ดอกบนสมบูรณ์เพศ กาบแข็ง ยาว 2–2.5 มม. เป็นมันวาว
-
พืชล้มลุกกลุ่มหญ้า อายุหลายปี ต้นสูง ๐.๓-๑ เมตร ลำต้นกว้างไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร มีขนยาวนุ่มที่ข้อและปลายกาบใบ ใบรูปแถบ ยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร กว้าง ๐.๕-๑.๔ เซนติเมตร มีช่อดอกแบบแยกแขนง ยาว ๘-๒๐ เซนติเมตร ก้านช่อดอก ยาว ๑-๒ ฟุต ดอกย่อยสีแดงอมม่วง มีขนฟูนุ่ม ดูสวยงาม เมื่อติดผลสีจะซีดลงจนออกสีขาว, ชอบขึ้นตามไร่ร้าง ชายป่าดงดิบ หรือป่าเบญจพรรณ ในสภาพภูมิอากาศ ที่มีฤดูแล้งยาวนานกว่า 4 เดือน หรือ ประเทศไทยตอนบน ยกเว้นภาคใต้
-
ลำต้นตั้งสูงประมาณ 80-115 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.2-1.6 มิลลิเมตร ใบกว้าง 0.4-0.7 เซนติเมตร ยาว 11.5-17.1 ซนติเมตร กาบใบยาว 5-7 เซนติเมตร รอยต่อใบและกาบใบมีลิ้นใบ (ligule) ลักษณะเป็นแผงขน (tringe of hairs) ยาวประมาณ 1.0 มิลลิเมตร ช่อดอกยาว 44.5-48.7 เซนติเมตร
ระบบนิเวศ :
-
Weed in plantation areas, roadsides.
การกระจายพันธุ์ :
-
Native to Africa.
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Alloverthecountry
-
เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ราชบุรี
-
ประจวบคีรีขันธ์
-
เชียงราย, สงขลา
-
ราชบุรี
ถิ่นกำเนิด :
-
ทวีปแอฟริกา
-
ไทย
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย/กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี)
-
อุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด
-
พบที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะล 58-618 เมตร บริเวณ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย , อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ลำต้นตั้ง หากดินแน่น ต้นจะเตี้ย รูปร่างใบเรียวไปที่ปลายใบ ใบนุ่ม หน้าใบและหลังใบไม่มีขน กาบใบและลำต้นมีขนยาวปกคลุมปานกลาง ข้อมีปุยขน และมีสีน้ำตาลแดง รอยต่อใบและกาบใบมีลิ้นใบ (ligule) ลักษณะเป็นแผงขน (tringe of hairs) ออกดอกที่ตาข้างและที่ยอด ดอกมีปุยขนยาวสีขาวแกมแดงถึงม่วงแดงหุ้มอยู่จำนวนมาก เมื่อช่อดอกแก่สีจะจางลงเป็นสีขาวแกมชมพูออกดอกเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน กันยายน
สถานที่ชม :
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 1
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
พื้นที่บางกระเจ้า