ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 30 พ.ย. 542 00:00 น.
วันที่สร้าง: 30 พ.ย. 542 00:00 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้น สูง 10-25 ม. มีหูใบเทียม ใบประกอบชั้นเดียว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ยาว 30-40 ซม. มีใบย่อย 4-8 คู่ รูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 5-15 ซม. โคนเบี้ยว มักมีต่อม 1 คู่ ก้านใบย่อยสั้นมากเกือบไร้ก้าน ช่อดอกคล้ายช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีส้ม ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงเป็นกาบ ยาว 4-6 ซม. เป็นสัน ปลายมีจะงอย มีขนละเอียด ดอกรูประฆังกว้าง หลอดกลีบดอกยาว 8-12 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ตื้น ๆ ยาวประมาณ 1.5 ซม. ขอบกลีบเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียจัก 2 พู ผลแห้งแตก รูปขอบขนาน ยาว 10-25 ซม. ปลายแหลม ผิวมีสัน แตกออกด้านเดียวรูปเรือ เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบางล้อมรอบ
-
ไม้ยืนต้นขนาดสูงถึง 20 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ค่อนข้างทึบ ใบ เป็นใบประกอบ มีก้านช่อดอกยาว เรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบย่อยมี 3-6 คู่ ส่วนปลายเป็นใบเดียวขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด มีก้านช่อดอกยาว แต่ละช่อมีดอกจำนวนมากและทยอยบานคราวละ 2-6 ดอก มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 6-9 ซม. ลักษณะเป็นถ้วย ผิวเป็นสันตามยาวตื้นๆ กลีบดอกมีสีแดงส้ม ผล เป็นฝักรูปเรือสีดำ เมื่อแก่จะแตกออกด้านเดียว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
-
ไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอ่อน ใบประกอบเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบย่อยมี 3-6 คู่ ที่ปลายก้านมีใบเดี่ยว รูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบเรียว ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ดอกจะทยอยบานครั้งละ 2-6 ดอก จากด้านนอกเข้าหาใจกลางช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อรูประฆังเบี้ยว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขอบกลีบหยัก สีแดง หรือแดงอมส้ม ผลเป็นฝักรูปเรือ สีดำ ฝักแก่จะแตกด้านเดียว เมล็ดจำนวนมาก มีปีกขาวล้อมรอบ
-
ไม้ยืนต้นขนาดสูงถึง 20 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ค่อนข้างทึบ ใบ เป็นใบประกอบ มีก้านช่อดอกยาว เรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบย่อยมี 3-6 คู่ ส่วนปลายเป็นใบเดียวขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด มีก้านช่อดอกยาว แต่ละช่อมีดอกจำนวนมากและทยอยบานคราวละ 2-6 ดอก มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 6-9 ซม. ลักษณะเป็นถ้วย ผิวเป็นสันตามยาวตื้นๆ กลีบดอกมีสีแดงส้ม ผล เป็นฝักรูปเรือสีดำ เมื่อแก่จะแตกออกด้านเดียว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
การกระจายพันธุ์ :
-
ไม้ถิ่นกำเนิดต่างประเทศ นิยมปลูกตามสวนสาธารณะ สถานที่ราชการหรือริมทางทั่วไป
-
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก พบที่แองโกลา เอธิโอเปีย คองโก กานา เคนยา ซูดาน แทนซาเนีย ยูกันดา และแซมเบีย ถือเป็นพืชที่เป็นไม้ประดับ พืชชนิดนี้เติบโตอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและภูมิภาคกึ่งเขตร้อนนอกทวีปแอฟริกา มีการกระจายพันธุ์ไปที่เม็กซิโก เปอร์โตริโก้ เกาะกวม และฮาวาย
-
ไม้ถิ่นกำเนิดต่างประเทศ นิยมปลูกตามสวนสาธารณะ สถานที่ราชการหรือริมทางทั่วไป
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สมุทรปราการ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2017)
ที่มาของข้อมูล
-
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
IUCN Red List
-
พื้นที่บางกระเจ้า