ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
- ไม้เลื้อย (Climber)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ลำต้นเกลี้ยง สีน้ำตาลเรื่อ ยาวถึง 5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ส่วนต่าง ๆ ของเถามีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ขนาด 3-6x8-14 ซม. โคนใบมนกลมถึงเว้าเป็นรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยุบตัว เส้นแขนง 5-8 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนังกึ่งอวบน้ำ ผิวใบมีขนสั้นปกคลุมเล็กน้อยถึงเกือบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบยาว 1-3 ซม. ด้านบนเป็นร่อง
ดอก แบบช่อเชิงลดมีก้านคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. บางครั้งแตกเป็น 2 แขนงที่ปลายช่อ ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ดอกย่อยรูปกงล้อ สีเหลืองนวลหรือสีเหลืองแกมน้ำตาล มีจุดประสีน้ำตาลหรือม่วงเป็นแถบบนกลีบ ดอกบานขนาดเส้นผ่านศูนย์ลาง 0.8-1 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.8-1.3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ขนาดเล็ก เรียงซ้อนเหลื่มกัน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลาแยกเป็นแฉกรูปไข่ 5 แฉก ภายในคอหลอดดกมีขนสั้นนุ่มปกคลุมหนาแน่น และค่อย ๆ ลดหายไปทางปลายแฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน เชื่อมติดกับเกสรเพศเมียเป็นเส้าเกสรอยู่กลางดอกคล้ายย่านขี้ผึ้ง แต่ปีกของอับเรณูโค้งติดหลอดเกสรเพศผู้ลงมาถึงบริเวณกลางหลอด ไม่มีรยางค์ของกลีบดอกและเกสรเพศผู้ หรือหากมีรยางค์เกสรเพศผู้ มักพัฒนาไม่ดี ออกดอกระหว่างเดือน กันยายน-กุมภาพันธ์
ผล แบบผลแตกแนวเดียว รูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายหัวลิงแสม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม. เปลือกผลสีน้ำตาล หนาประมาณ 1.2 ซม. ผิวเรียบถึงหยาบเป็นลายร่างแห และมีสันตามยาว 1 สัน เมล็ดรูปทรงไข่ แบนเป็นปีก และมีขอบหนาสีน้ำตาลเข้ม ขนาด 0.8-1.2x1.5-1.8 ซม. ไม่มีขนเป็นพู่ ที่ปลาย
การกระจายพันธุ์ :
- ประเทศอินเดียตะวันออก พม่า ไทย หมู่เกาะมลายูและบอร์เนียว