ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุมน้ำปากแม่น้ำกระบี่
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลน้อย
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลสาบสงขลา
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลหลวง
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้นขนาดเล็ก (Small tree)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5-15 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ปลายกิ่งเรียวยาวย้อยลง มีน้ำยางสีขาวเฉพาะที่ยอดอ่อน ช่อดอก และผลเปลือกเรียบถึงแตกเป็นร่องถี่ สีเทาคล้ำถึงเกือบดำ เปลือกชั้นในสีเหลือง ถึงสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีหนามแหลมแข็งเมื่ออายุยังน้อย
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ขนาด 2-3x5-10 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบมนมีต่อม 1 คู่ อยู่ชิดก้านใบ ขอบใบหยักมน ใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบเกลี้ยง ทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีซีด ก้านใบเรียวยาว 0.8-1.4 ซม.
ดอก ออกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ยาว 4-8 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เป็นดอกแยกเพศ ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ ที่โคนก้านช่อดอก มีก้านเกสร 3 อัน แยกกันเป็นอิสระ ดอกเพศผู้มีหลายดอกเรียงตลอดความยาวของก้านช่อดอก ออกดอกพร้อมๆกันกับแตกใบอ่อนระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม
ผล เป็นผลแห้งแตก เปลือกหนาแข็ง มี 3 พู ค่อนข้างกลม ปลายเป็นติ่งแหลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผลสีเขียวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล แต่ละผลมี 3 เมล็ด ออกผลระหว่างเดือน เมษายน-กันยายน
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ขนาด 2-3x5-10 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบมนมีต่อม 1 คู่ อยู่ชิดก้านใบ ขอบใบหยักมน ใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบเกลี้ยง ทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีซีด ก้านใบเรียวยาว 0.8-1.4 ซม.
ดอก ออกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ยาว 4-8 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เป็นดอกแยกเพศ ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ ที่โคนก้านช่อดอก มีก้านเกสร 3 อัน แยกกันเป็นอิสระ ดอกเพศผู้มีหลายดอกเรียงตลอดความยาวของก้านช่อดอก ออกดอกพร้อมๆกันกับแตกใบอ่อนระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม
ผล เป็นผลแห้งแตก เปลือกหนาแข็ง มี 3 พู ค่อนข้างกลม ปลายเป็นติ่งแหลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผลสีเขียวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล แต่ละผลมี 3 เมล็ด ออกผลระหว่างเดือน เมษายน-กันยายน
การกระจายพันธุ์ :
-
บริเวณประเทศอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
พัทลุง, นครศรีธรรมราช
-
สงขลา, พัทลุง
-
พัทลุง, สงขลา
ที่มาของข้อมูล
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
พื้นที่บางกระเจ้า