ข้อมูลสิ่งมีชีวิต


วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 5-20 เมตร เนื้อไม้อ่อนสีขาว เรือนยอดทรงกลมทึบ เปลือกนอกสีเทา แตกเป็นร่องเล็กน้อย เปลือกในสีขาวอมเหลือง การแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบแบบแผน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกติดเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปไข่ รูปรี รูปหอก ปลายใบแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ โคนใบเบี้ยว เกลี้ยง เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษบิดเบี้ยวเป็นคลื่น ดอก ออกที่ยอดเป็นช่อตั้งตรง สีขาว มีกลิ่นหอม ช่อหนึ่ง ๆ มีดอก 2-8 ดอก จะทยอยบานทีละดอก บานตอนกลางคืน ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน ผล เป็นฝัก รูปกลมยาว โค้ง เกลี้ยง ภายในมี 4 ช่อง เมล็ดมีปีก เป็นผลเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน
- ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. กิ่งอ่อนมักมีเมือกเหนียว ใบประกอบยาว 8–35 ซม. ใบย่อยมี 2–4 คู่ รูปไข่ถึงรูปใบหอก ยาว 7–16 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.4–1 ซม. ช่อดอกยาว 2–4 ซม. มี 2–8 ดอก ก้านดอกยาว 1.5–3.5 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 3–9 ซม. หลอดกลีบดอกส่วนโคนยาว 8–13 ซม. ส่วนบานออกยาว 3–5 ซม. เกสรเพศเมียยื่นเลยพ้นปากหลอดกลีบเล็กน้อย ผลรูปแถบโค้งเล็กน้อย ยาว 30–60 ซม. ผนังกั้นแข็ง เมล็ดและปีกหนาเป็นคอร์ก ยาว 1.3–1.8 ซม. รวมปีก
- ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบประกอบ ใบย่อย รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน 2 ข้างไม่เท่ากัน ปลายทู่ โคนใบมน ดอกช่อแบบติดดอกสลับ มีช่อละ 2-7 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นจงอย กลีบดอกเป็นหลอด ผลเป็นแบบแคปซูล เมล็ดหนา มีปีกด้านข้าง
- ไม้ต้น ไม้ผลัดใบ สูง ๕-๒๐ เมตร เนื้อไม้อ่อนสีขาว เรือนยอดทรงกลมทึบ เปลือกนอกสีเทา แตกเป็นร่องเล็กน้อย เปลือกในสีขาวอมเหลือง การแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบแบบแผน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกติดเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปไข่ รูปรี รูปหอก ปลายใบแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ โคนใบเบี้ยว เกลี้ยง เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษบิดเบี้ยวเป็นคลื่น
ดอก : ออกที่ยอดเป็นช่อตั้งตรง สีขาว มีกลิ่นหอม ช่อหนึ่ง ๆ มีดอก ๒-๘ ดอก จะทยอยบานทีละดอก บานตอนกลางคืน ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
ผล : เป็นฝัก รูปกลมยาว โค้ง เกลี้ยง ภายในมี ๔ ช่อง เมล็ดมีปีก เป็นผลเดือนพฟษภาคม-มิถุนายน
ระบบนิเวศ :
- พบขึ้นตามป่าชายทะเล แนวหลังป่าชายเลน ริมฝั่งน้ำกร่อยและตามหัวไร่ปลายนา ตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง และบริเวณน้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
- สมุทรปราการ
- พังงา
- สมุทรปราการ
- ระยอง
- ลำพูน, ลำปาง
- สมุทรปราการ
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
- บางกระเจ้า
- พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง)
- ป่าชายเลนคุระบุรี, คลองคุระบุรี
- พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
- อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
- อุทยานแห่งชาติ ดอยขุนตาล
- บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
การกระจายพันธุ์ :
- ต้นแคทะเลมักจะขึ้นตามชายป่าโกงกางด้านในหรือตามริมแม่น้ำที่น้ำทะเลท่วมถึง หรือขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ตามแนวหลังป่าชายเลน มีเขตการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง โดยจะพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยจะพบต้นแคทะเลได้เฉพาะทางภาคกลางและภาคใต้ในแถบจังหวัดชายฝั่งทะเล
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
- ราก เปลือก ใบ ดอก เมล็ด
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
- สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
- ราก : รสหวานเย็น แก้ไข้ แก้เสมหะ บำรุงโลหิตและลม เปลือก : รสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใบ : รสเย็น รักษาแผล เป็นยาบ้วนปาก แก้ไข้ แก้คัน ดอก : รสหวานเย็น แก้ไข้ เมล็ด : รสหวานเย็น แก้ปวดประสาท แก้โรคชัก
ที่มาของข้อมูล