ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
Perennial decumbent herb.
-
หญ้าหลายปี ลำต้นเรียวตั้งขึ้นสูง 20-60 เซนติเมตร รากเป็นไหลทอดยาว 1-2 เมตร แตกแขนงที่ข้อล่างตั้งตรง กาบใบทรงกระบอก สีฟางข้าว ยาว 5-8 เซนติเมตร แผ่นใบ รูปขอบขนาน ยาว 13-20 เซนติเมตร กว้าง 0.4-1 เซนติเมตร ฐานใบกว้างปลายเรียวแหลม ลิ้นใบ เป็นเยื่อบาง ยาว 0.5 มิลลิเมตร ช่อดอก แบบช่อแยกแขนงกว้าง ยาว 14-25 เซนติเมตร กว้าง 8-15 เซนติเมตร ก้านช่อดอกแบนหรือเป็นเหลี่ยม ช่อดอกย่อย รูปหอก ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร กาบช่อย่อยล่างเป็นแผ่นเยื่อบาง ยาวไม่เกินครึ่งหนึ่งของช่อดอกย่อย ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ขอบเรียบ เส้นภายใน 3 เส้น ปลายเส้นยาวไม่ถึงปลายแผ่น ปลายมน กาบช่อย่อยบน รูปหอก เป็นแผ่น เนื้อบาง ขอบแผ่บาง ยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง ประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นภายใน 9 เส้น ปลายแหลม ดอกล่าง เพศผู้หรือไม่มีเพศ กาบล่าง เป็นแผ่นเยื่อบางเหมือนกับกาบช่อย่อยบนยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร เส้นภายใน 9 เส้น กาบบนรูปหอก ยาว 2-2.2 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร เป็นเยื่อโปร่งบาง ขอบพับเป็นสัน 2 สัน มีขนเรียงกันไปจนถึงปลาย ดอกบน สมบูรณ์เพศ กาบล่าง เป็นแผ่นเนื้อแข็งผิวมัน เรียบ รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นภายใน 8 เส้น ส่วนขนของขอบจะแผ่ออกเป็นปีกม้วนเข้าจนถึงปลายดูภายนอกคล้ายปลายแหลม กาบบน เป็นแผ่นแข็ง ผิวเกลี้ยงแบนทางด้านล่าง รูปไข่หรือรูปหอกยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ขอบส่วนกลางโอบเข้าเกือบติดกัน ส่วนล่างขอบไม่ยื่นเข้ามาจึงเป็นช่อง ปลายยื่นเป็นจงอย กลีบเกล็ดรูปกรวย ปลายแผ่กว้างยาวประมาณ 0.2 มิลลิเมตรจำนวน 2 อัน อับเรณ จำนวน 3 อัน สีน้ำตาลเข้ม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รังไข่ รูปทรงรีหรือไข่กลับ ยาวประมาณ 0.3-0.4 มิลลิเมตร ยอดเกสร สีน้ำตาล
-
พืชชายน้ำ
-
หญ้าหลายปี ลำต้นเรียวตั้งขึ้นสูง 20-60 เซนติเมตร รากเป็นไหลทอดยาว 1-2 เมตร แตกแขนงที่ข้อล่างตั้งตรง กาบใบทรงกระบอก สีฟางข้าว ยาว 5-8 เซนติเมตร แผ่นใบ รูปขอบขนาน ยาว 13-20 เซนติเมตร กว้าง 0.4-1 เซนติเมตร ฐานใบกว้างปลายเรียวแหลม ลิ้นใบ เป็นเยื่อบาง ยาว 0.5 มิลลิเมตร ช่อดอก แบบช่อแยกแขนงกว้าง ยาว 14-25 เซนติเมตร กว้าง 8-15 เซนติเมตร ก้านช่อดอกแบนหรือเป็นเหลี่ยม ช่อดอกย่อย รูปหอก ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร กาบช่อย่อยล่างเป็นแผ่นเยื่อบาง ยาวไม่เกินครึ่งหนึ่งของช่อดอกย่อย ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ขอบเรียบ เส้นภายใน 3 เส้น ปลายเส้นยาวไม่ถึงปลายแผ่น ปลายมน กาบช่อย่อยบน รูปหอก เป็นแผ่น เนื้อบาง ขอบแผ่บาง ยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง ประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นภายใน 9 เส้น ปลายแหลม ดอกล่าง เพศผู้หรือไม่มีเพศ กาบล่าง เป็นแผ่นเยื่อบางเหมือนกับกาบช่อย่อยบนยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร เส้นภายใน 9 เส้น กาบบนรูปหอก ยาว 2-2.2 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร เป็นเยื่อโปร่งบาง ขอบพับเป็นสัน 2 สัน มีขนเรียงกันไปจนถึงปลาย ดอกบน สมบูรณ์เพศ กาบล่าง เป็นแผ่นเนื้อแข็งผิวมัน เรียบ รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นภายใน 8 เส้น ส่วนขนของขอบจะแผ่ออกเป็นปีกม้วนเข้าจนถึงปลายดูภายนอกคล้ายปลายแหลม กาบบน เป็นแผ่นแข็ง ผิวเกลี้ยงแบนทางด้านล่าง รูปไข่หรือรูปหอกยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ขอบส่วนกลางโอบเข้าเกือบติดกัน ส่วนล่างขอบไม่ยื่นเข้ามาจึงเป็นช่อง ปลายยื่นเป็นจงอย กลีบเกล็ดรูปกรวย ปลายแผ่กว้างยาวประมาณ 0.2 มิลลิเมตรจำนวน 2 อัน อับเรณ จำนวน 3 อัน สีน้ำตาลเข้ม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รังไข่ รูปทรงรีหรือไข่กลับ ยาวประมาณ 0.3-0.4 มิลลิเมตร ยอดเกสร สีน้ำตาล
-
สูง 75-100 เซนติเมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-4.3 มิลลิเมตร ใบกว้าง 0.9-1.1 เซนติเมตร ยาว 18-27 เซนติเมตร กาบใบยาว 7.4-9.1 เซนติเมตร ลิ้นใบ (ligule) สั้นมาก เป็นแผ่นปลายเป็นเส้นๆ (membranous toothed) สูง 0.5 มิลลิเมตร และมีขนยาว 4-5 มิลลิเมตร ความยาวช่อดอก 28-34 เซนติเมตร
ระบบนิเวศ :
-
Open grassy ground, marshy areas, ponds, waste ground, roadsides, riverbanks, rice fields, also in mixed
deciduous forest, to 1,200 m alt.
deciduous forest, to 1,200 m alt.
การกระจายพันธุ์ :
-
Tropic and subtropic regions of the World.
-
กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อน พบตามพื้นที่เปิดโล่ง แดดส่องถึงไปจนถึงพื้นที่มีร่มเงาเล็กน้อย ที่ลุ่มริมลำน้ำ อาจพบบริวณหาดทรายริมทะเล หรือแนวตะเข็บป่าชายเลน
-
กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อน พบตามพื้นที่เปิดโล่ง แดดส่องถึงไปจนถึงพื้นที่มีร่มเงาเล็กน้อย ที่ลุ่มริมลำน้ำ อาจพบบริวณหาดทรายริมทะเล หรือแนวตะเข็บป่าชายเลน
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
Alloverthecountry
-
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก/พิษณุโลก
-
นราธิวาส, นครศรีธรรมราช, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, กาญจนบุรี, ขอนแก่น, สุรินทร์
-
ราชบุรี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พบบริเวณอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอไทรโยต จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอพระยืน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นพืชอายุหลายปี มีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน มีไหล ลำต้นตั้ง หรือ โคนต้นทอดนอน และชูส่วนปลายขึ้น ลำต้นอวบน้ำแต่เหนียว แตกรากตามข้อ และแตกหน่องอกเป็นต้นใหม่ รูปร่างใบเรียวไปที่ปลายใบ ที่ฐานใบจะมีลิ้นใบ (ligule) สั้นมาก เป็นแผ่นปลายเป็นเส้นๆ (membranous toothed) และมีขนยาว 4-5 มิลลิเมตร จำนวนเล็กน้อยบริเวณหลังลิ้นใบ ใบด้านหน้ามีขนสีขาวจำนวนมาก หลังใบไม่มีขน ขอบกาบใบมีปุยขนสีขาวจำนวนมาก แต่ตัวกาบใบไม่มีขน ใบมีสีเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบเรียบ (entire)
ถิ่นกำเนิด :
-
ไทย
สถานที่ชม :
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาส
การขยายพันธุ์ :
-
ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ลำต้น และเหง้า
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร ปลูกคลุมดิน
ที่มาของข้อมูล
-
Checklist of Plants in Thailand Volume I ปี 2557 สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
รายงาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
พืชอาหารสัตว์พื้นเมือง เล่ม 1
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
พื้นที่บางกระเจ้า