ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
วันที่อัพเดท : 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
วันที่สร้าง: 12 มิ.ย. 2566 12:11 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
-
ไม้ต้น สูง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งแตกแขนงรอบลำต้นเป็นชั้นๆ เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้นและล่อนออกเป็นแผ่นเล็กๆ มีพูพอนเตี้ยๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบกว้างแล้วหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบรูปลิ่ม มีต่อม 2 ต่อมที่ผิวใบด้านล่างใกล้เส้นกลางใบ มีเส้นแขนงใบ ข้างละ 7-8 เส้น
ดอก สีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นฉุน ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามปลายกิ่ง ผล แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรี ด้านข้างเป็นสันบางรอบผล ผลแก่สีเหลือง เมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน
ดอก สีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นฉุน ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามปลายกิ่ง ผล แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรี ด้านข้างเป็นสันบางรอบผล ผลแก่สีเหลือง เมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน
-
ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10-25 ม. กิ่งแตกเป็นชั้นรอบลำต้นและแผ่กว้างในแนวระนาบเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร เปลือกนอกเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล เมื่อแก่เกลี้ยง
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 8-15x10-25 ซม. โคนใบรูปหัวใจแคบ ขอบใบเรียบ ปลายใบกลมถึงแหลมเป็นติ่งสั้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัว เส้นแขนง 6-9 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแหกึ่งขั้นบันได มีต่อมนูน 1 คู่ ติดอยู่ใกล้โคนเส้นกลางใบ เนื้อใบคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบอวบอ้วน ยาว 0.5-1.2 ซม. ผลัดใบปีละ 2 ครั้งระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม
ดอก แบบช่อเชิงลดไร้ก้าน ออกตามง่ามใบ ยาว 10-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาว สมมาตรตามรัศมี ไม่มีก้านดอก ดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่บนช่อเดียวกัน ดอกสมบูรณ์เพศออกตามโคช่อ รูปกงล้อ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด ยาว 0.2-0.4 ซม. มีขนปกคลุมตอนบนผายออกเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกเป็นแฉกกลีบรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ 5 แฉก ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกปกคลุมด้วยขนหนาแน่น
ผล แบบผลเม็ดเดียวแข็ง รูปทรงไข่ถึงรีกว้าง ค่อนข้างแบนทางด้านข้าง ขนาด 2-5X3-7 ซม. ผิวเกลี้ยง เนื้อผลชั้นกลางเป็นเส้นใย ผลสุกสีเหลืองหรือส้มอมแดง ผลแห้งสีดำเป็นมันวาว เบา มี 1 เมล็ด
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 8-15x10-25 ซม. โคนใบรูปหัวใจแคบ ขอบใบเรียบ ปลายใบกลมถึงแหลมเป็นติ่งสั้น เส้นใบแบบร่างแหขนนก เส้นกลางใบยกตัว เส้นแขนง 6-9 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแหกึ่งขั้นบันได มีต่อมนูน 1 คู่ ติดอยู่ใกล้โคนเส้นกลางใบ เนื้อใบคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีซีดกว่า ก้านใบอวบอ้วน ยาว 0.5-1.2 ซม. ผลัดใบปีละ 2 ครั้งระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม
ดอก แบบช่อเชิงลดไร้ก้าน ออกตามง่ามใบ ยาว 10-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาว สมมาตรตามรัศมี ไม่มีก้านดอก ดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่บนช่อเดียวกัน ดอกสมบูรณ์เพศออกตามโคช่อ รูปกงล้อ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด ยาว 0.2-0.4 ซม. มีขนปกคลุมตอนบนผายออกเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกเป็นแฉกกลีบรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ 5 แฉก ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกปกคลุมด้วยขนหนาแน่น
ผล แบบผลเม็ดเดียวแข็ง รูปทรงไข่ถึงรีกว้าง ค่อนข้างแบนทางด้านข้าง ขนาด 2-5X3-7 ซม. ผิวเกลี้ยง เนื้อผลชั้นกลางเป็นเส้นใย ผลสุกสีเหลืองหรือส้มอมแดง ผลแห้งสีดำเป็นมันวาว เบา มี 1 เมล็ด
-
ไม้ต้น สูง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งแตกแขนงรอบลำต้นเป็นชั้นๆ เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้นและล่อนออกเป็นแผ่นเล็กๆ มีพูพอนเตี้ยๆ
ใบ : เดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบกว้างแล้วหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบรูปลิ่ม มีต่อม 2 ต่อมที่ผิวใบด้านล่างใกล้เส้นกลางใบ มีเส้นแขนงใบ ข้างละ 7-8 เส้น
ดอก : สีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นฉุน ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามปลายกิ่ง
ผล : แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรี ด้านข้างเป็นสันบางรอบผล ผลแก่สีเหลือง เมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน
ใบ : เดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบกว้างแล้วหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบรูปลิ่ม มีต่อม 2 ต่อมที่ผิวใบด้านล่างใกล้เส้นกลางใบ มีเส้นแขนงใบ ข้างละ 7-8 เส้น
ดอก : สีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นฉุน ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามปลายกิ่ง
ผล : แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรี ด้านข้างเป็นสันบางรอบผล ผลแก่สีเหลือง เมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน
ระบบนิเวศ :
-
พบบริเวณป่าชายหาดริมทะเล เป็นไม้ที่เจริญเติบโตเร็วและแข็งแรง ควรปลูกในรีสอร์ท
หรือเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ไม่ควรปลูกในลานจอดรถเพราะผลและใบร่วงมาก
หรือเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ไม่ควรปลูกในลานจอดรถเพราะผลและใบร่วงมาก
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
สมุทรปราการ
-
สมุทรปราการ
-
กระบี่
-
พังงา
-
ตรัง, สตูล
-
ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา
-
สุโขทัย, ลำปาง
-
กาญจนบุรี, ตาก
-
อุบลราชธานี
-
ตาก
-
อุบลราชธานี
-
ตาก
-
ลำปาง
-
สมุทรปราการ
-
สมุทรปราการ
-
นนทบุรี
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
บางกระเจ้า
-
พื้นที่ชุ่มน้ำหนองบงคาย
-
พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง
-
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทุ่งทะเล
-
อุทยานแห่งชาติ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
-
อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะเภตรา
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ถ้ำเจ้าราม
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บุณฑริก-ยอดมน
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่ตื่น
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ยอดโดม
-
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุ้มผาง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
-
บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
ไม้ต้น (Tree)
การกระจายพันธุ์ :
-
มาดากัสการ์ เอเชียเขตร้อน ตลอดถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
ส่วนของตัวอย่างที่นำมาใช้ :
-
ทั้งต้น ราก เปลือก ใบ ผล
วัตถุประสงค์การนำมาใช้ประโยชน์ :
-
สมุนไพร
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์ :
-
ทั้งต้น : รสฝาดเฝื่อน เป็นยาสมาน แก้ไข้ ท้องร่วง บิด ระบาย ขับน้ำนม
แก้โรคคุดทะราด
ราก : ทำให้ประจำเดือนมาปกติ
เปลือก : รสฝาดเฝื่อน เป็นยาขับลม สมานแก้ท้องเสีย ตกขาว โรคโกโนเรีย
ใบ : รสจืด เป็นยาขับเหงื่อ แก้ทอนซิลอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ
โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารและตับ ใบแก่สีแดง รสจืดเป็นยาขับพยาธิ
ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด รักษาโรคเรื้อน ทาหน้าอกแก้อาการ
เจ็บหน้าอก ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก
ผล : รสเปรี้ยวเฝื่อน เป็นยาถ่าย
-
อาหาร,สมุนไพร,ไม้ดอกไม้ประดับ,เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผล รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (โลก) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพเป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern: LC (IUCN, 2019)
ที่มาของข้อมูล
-
กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้าของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561
-
พันธุ์ไม้ป่าชายเลน, กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
ไม้ต้นที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร และควรนำมาขยายพันธุ์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน, กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2562
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
IUCN Red List
-
พื้นที่บางกระเจ้า